การค้นพบ ไทรเซอราทอปส์ ฟอสซิลทางประวัติศาสตร์ ประเภทสัตว์กินพืชขนาดกลาง ที่ดำรงชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ประมาณ 68-66 ล้านปีก่อน ปัจจุบันคือบริเวณอเมริกาเหนือทางตะวันตก พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปลักษณ์ที่น่าสนใจ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขุดพบฟอสซิล มีข้อมูลดังนี้
การค้นพบ ไทรเซอราทอปส์ ตัวอย่างแรกที่มีชื่อเสียงชิ้นแรก ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่าเป็นของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ คือเขาคู่หนึ่งที่ติดอยู่กับกะโหลกศีรษะ ซึ่ง จอร์จ ไลแมน แคนนอน ได้ขุดพบใกล้เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี 1887 และตัวอย่างนี้ถูกส่งไปให้กับ ออธเนียล ชาร์ลส์ มาร์ช
ซึ่งมาร์ชเชื่อว่าตัวอย่างนี้ มาจากยุคไพลโอซีน และกระดูกเป็นของควายป่าขนาดใหญ่ และมีความแปลกประหลาด เขาได้ตั้งชื่อตัวอย่างนี้ว่า “Bison alticornis” แต่ในปีต่อมาเขาได้ตระหนักว่า มีไดโนเสาร์ที่มีเขาอยู่ภายในปีนั้นด้วย ซึ่งทำให้เขาตีพิมพ์ตระกูล Ceratops จากซากที่แตกหัก และเชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
แม้ว่าจะยังไม่ปรากฏฟอสซิลที่จัดเจน แต่ซากดึกดำบรรพ์ที่อาจอยู่ในกลุ่ม Triceratops ได้รับการอธิบายว่าเป็นของไดโนเสาร์ Agathaumas sylvestris และ Polyonax mortuaries ในปี 1872-1874 โดยกระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลังหลายชิ้น และซี่โครงไม่กี่ชิ้นที่รวบรวมได้ อยู่ใกล้กับแม่น้ำกรีนริเวอร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ [1]
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้
ที่มา: Quick facts about Triceratops [2]
ไดโนเสาร์ ไทรเซอราทอปส์ อาจดูผิวเผินว่ามันเป็นสัตว์อันตราย แต่แท้จริงแล้ว มันเป็นสัตว์กินพืชที่เคลื่อนไหวช้า โดยใช้ขากรรไกรที่เหมือนจะงอยปาก และฟันสำหรับหั่นหรือถอนพืชแข็ง กินพืชที่สัตว์ชนิดอื่นไม่สามารถกินได้ พวกมันอาศัยอยู่ในบริเวณอเมริกาเหนือทางตะวันตก ในยุคครีเทเชียส 69 ล้านปีก่อน
สำหรับที่มาของชื่อนั้น มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “ใบหน้ามีสามเขา” เนื่องจากใบหน้าของมันมีเขาโค้งที่งอกออกมา อาจจะรวมไปถึงปากที่เป็นจะงอย ขนาดและรูปร่างของเขาเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อพวกมันมีอายุมากขึ้น จนนักวิทยาศาสตร์คิดในตอนแรกว่า ฟอสซิลของพวกมันที่มีอายุน้อย เป็นคนละสายพันธุ์
นักบรรพชีวินวิทยารวบรวมหลักฐาน เพื่อเรียนรู้ว่าทำไมพวกมันถึงมีเขางอกออกมา แต่เนื่องจากทั้งตัวผู้และตัวเมียต่างก็มีเขาขนาดใหญ่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า พวกมันอาจใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อสร้างความประทับใจ หรือการแสดงออกทางพฤติกรรม คล้ายกับ นกยูงอินเดีย ที่มีขนสีสันสดใส [3]
สัตว์กินพืชไทรเซอราทอปส์ หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืชชนิดหนึ่ง ที่ถูกพบในแหล่งโบราณคดี พบในหมวดเมเนฟี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐนิวเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2539 การศึกษาของทีมวิจัยครั้งล่าสุด จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ได้รายงานเกี่ยวกับการค้นพบสายพันธุ์ใหม่
ไดโนเสาร์จากกลุ่มเซอราทอปเซียน (Ceratopsians) มีรูปร่างคล้ายแรด โดยสายพันธุ์ใหม่มีชื่อว่า Menefeecera-tops sealeyi อย่างไรก็ตาม นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า พวกมันเป็นสมาชิกที่ค่อนข้างเล็ก เนื่องจากมีความยาวประมาณ 3-4.5 เมตร เมื่อเทียบกับ ไทรเซอราทอปส์ ที่เติบโตได้ถึง 9 เมตร
ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบฟอสซิลครั้งใหม่ จากทางตอนใต้ แถมยังมีอายุมากกว่าการค้นพบเซอราทอปเซียนครั้งก่อนๆ ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มข้อมูลสำคัญในการเข้าใจ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ตระกูลนี้ ให้แก่นักบรรพชีวินวิทยา [4]
อธิบาย ไทรเซอราทอปส์ (Triceratops) สัตว์กินพืชจากยุคครีเทเชียสตอนปลาย ประมาณ 68-66 ล้านปีก่อน หลังจากที่คุณได้ดูข้อมูลข้างต้น เกี่ยวกับประวัติการค้นพบฟอสซิลครั้งแรก สำหรับข้อมูลในส่วนถัดไป ทางผู้เขียนจะพาไปดูลักษณะทางกายวิภาค และวิธีการพบเห็นไดโนเสาร์ชนิดนี้ ผ่านทางวัฒนธรรมสมัยนิยม
ที่มา: In The Media [5]
โดยรวม หลังจากที่มีการค้นพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์สามเขาชนิดนี้ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาได้ทราบว่า พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบฟอสซิลมากที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สัตว์กินพืชที่โด่งดังมากที่สุด ในประวัติศาสตร์การศึกษาซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์
นับจาก 66 ล้านปีก่อน หลังจากไดโนเสาร์ปรากฏตัวครั้งแรกบนโลก เกิดเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยขนาด 7.5 ไมล์พุ่งชนคาบสมุทรยูคาทาน ในประเทศเม็กซิโกภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ได้คร่าสิ่งมีชีวิตมากกว่าสามในสี่ชนิดบนโลก
การศึกษางานวิจัย โดย เอมิลี่ เจ เรย์ฟิลด์ (Emily J. Rayfield) จากมหาวิทยาลัยบริสตอล ได้ให้ข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมว่า ไทแรนโนซอรัสใช้กลยุทธ์การเจาะและดึงเหยื่อ มันจะทำให้เหยื่อตกใจด้วยการจัดอย่างรุนแรง จากนั้นจะใช้ฟันกัดเข้าไปที่เนื้อและกระดูกของเหยื่อ
[1] WIKIPEDIA. (January 28, 2025). Discovery and identification. Retrieved from en.wikipedia
[2] The Dinosaur Database. (2025). Quick facts about Triceratops. Retrieved from dinosaurpictures
[3] NATIONAL GEOGRAPHIC KiDS. (2015-2025). Dressed to impress. Retrieved from kids.nationalgeographic
[4] ไทรรัฐออนไลน์. (May 24, 2021). ค้นพบไดโนเสาร์กินพืช ไทรเซอราทอปส์. Retrieved from thairath
[5] DINOPEDIA. (2025). In The Media. Retrieved from dinopedia.fandom