การค้นพบ ชูโนซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีการขุดพบฟอสซิลครั้งแรก โดยกลุ่มนักเรียนฝึกหัดขุดซากดึกดำบรรพ์ ในมณฑลเสฉวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พวกมันได้รับการอธิบายและตั้งชื่อในปี 1983 สำหรับรายละเอียดการขุดพบฟอสซิล มีข้อมูลเพิ่มเติมดังหัวข้อต่อไปนี้
การค้นพบ ชูโนซอรัส (Shunosaurus) สำหรับฟอสซิลตัวอย่างแรกของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกค้นพบในปี 1977 โดยกลุ่มนักเรียนที่กำลังฝึกฝนการขุดฟอสซิล เพื่อศึกษาการค้นคว้าทางบรรพชีวินวิทยา ฟอสซิลชนิดนี้ถูกบรรยายและตั้งชื่อโดย ตง จื้อหมิง, โจว ซื่อหวู่ และจางอี้หง โดยอิงมาจากชื่อโบราณของมณฑลเสฉวน
ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ได้รับการยกย่องให้กับนักอุทกวิทยา ชื่อว่า หลี่ปิง เขาเป็นผู้ว่าราชการมณฑลเสฉวนในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล สำหรับโฮโลไทป์ IVPP V 9065 ได้รวบรวมมาจากชั้นหินซาซิเมี่ยวตอนล่าง (Shaximiao) ซึ่งใกล้กับ Dashanpu, Zigong ประกอบไปด้วยโครงกระดูกบางส่วน ประมาณ 20 ชิ้น
ในปี 2004 ตัวอย่างที่มีลักษณะกึ่งข้อต่อบางส่วน ที่ถูกพบในตำบล Jiangyi ในเขต Yuanmou ได้รับการอธิบายว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ Shunosaurus jiangyiensis โดยพบจากกระดูกคอ 9 ชิ้น กระดูกหลัง 15 ชิ้น กระดูกเชิงกราน 3 ชิ้น กระดูกหาง 4 ชิ้น คาดว่าฟอสซิลนี้มีอายุย้อนไปถึงยุคจูราสสิกตอนกลาง [1]
ข้อมูลเพิ่มเติมจากการค้นพบฟอสซิล
ที่มา: Quick facts about Shunosaurus [2]
เดิมทีแล้วไดโนเสาร์ชูโนซอรัสนั้น ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Cetiosaurinae ต่อมาในปี 1992 ก็ได้มีการย้ายให้มันไปอยู่ในกลุ่ม Cetiosauridae การวิเคราะห์เชิงกลุ่มได้ให้ผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน ในปี 1995 พอล อัปเชิร์ช เขาได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่ระบุว่าพวกมันอยู่ในกลุ่ม Euhelopodidae รวมกับซอโรพอดจีนในยุคจูราสสิกชนิดอื่น
ข้อมูลการวิเคราะห์โดย เจฟฟรีย์ วิลสัน ในปี 2002 ระบุว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีตำแหน่งพื้นฐานในกลุ่ม Eusauropoda อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรเอโทซอรัส ไดโนเสาร์กินพืชจากประเทศควีนแลนด์ในออสเตรเลีย สำหรับตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์ที่มีความใกล้ชิดกับ Shunosaurus มีรายชื่อตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์เครือญาติ
ที่มา: Classification [3]
ไดโนเสาร์ที่มาจากยุคจูราสสิกตอนกลางของประเทศจีน อาจเป็นกลุ่มซอโรพอดที่มีฐานข้อมูล และมีโครงกระดูกที่สมบูรณ์หลายตัวอย่าง พวกมันมีความพิเศษตรงที่มีกระดองกระดูกขนาดเล็กที่ปลายหาง อีกทั้งยังมีข้อมูลในส่วนของกะโหลกศีรษะที่สำคัญเกี่ยวกับกายวิภาค สัณฐานวิทยาของสมอง และรูปแบบของฟัน
ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของกะโหลกศีรษะ ที่มีรูปแบบการเคลื่อนไหวโมโนโมสไตลิก สมองของมันค่อนข้างเล็กและแคบ ออกแบบมาอย่างเรียบง่าย รูปแบบการทดแทนของฟันในช่องปาก จะถูกทดแทนไปทางด้านหน้าในตำแหน่งฟันสลับกัน ฟันนั้นมีลักษณะคล้ายไม้พาย มีความแข็งแรง สามารถเคี้ยวพืชหยาบได้ดี
โครงสร้างของกะโหลกศีรษะ และท่าทางของคอที่บ่งชี้ว่า ชูโนซอรัสสามารถปรับตัวให้เข้ากับการกินอาหารบนพื้นดิน หรือกินพืชในระดับต่ำ เส้นประสาทที่ทรอกเคลียร์มีทางออก 2 ทาง ในขณะที่ระดับการสบฟันของแถวฟันบนจะโค้งขึ้นไป ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกรรไกรตัดหญ้า มีจำนวนฟันเทอรีกอยก์ 25 ซี่
หลังจากที่ท่านได้ดูข้อมูลข้างต้น ที่ทางผู้เขียนได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการค้นพบ วิธีการจำแนกประเภท และการวิเคราะห์เชิงนามธรรมของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ในส่วนถัดไป ทางเราจะพาไปดูข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะกายวิภาค รวมไปถึงวิธีการพบเห็นพวกมันตามสื่อวัฒนธรรมสมัยนิยม มีข้อมูลดังต่อไปนี้
ที่มา: In popular culture [4]
จากการสำรวจจนเกิดการขุดพบฟอสซิล ทำให้มนุษย์ได้เข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นการ ในช่วงเวลาที่มันดำรงชีวิต และยังเป็นซอโรพอดขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะ การค้นพบฟอสซิลในประเทศจีน ช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ซอโรพอดยุคต้นได้ดีมากยิ่งขึ้น
สำหรับไดโนเสาร์ที่มีปลายหางเป็นลูกตุ้มตัวนี้ พวกมันถูกจัดให้เป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร อาหารที่พวกมันชื่นชอบและโปรดปรานมากที่สุด นั่นก็คือใบไม้ เฟิร์น และอาจรวมถึงผลไม้จากต้นไม้ที่อยู่สูง บางครั้งมันอาจยืดคอ หรือเอื้อมมือไปหยิบกิ่งไม้สูงๆ
ถึงแม้ว่าจะยังไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการคำนวณความเร็วของ Shunosaurus แบบเฉพาะเจาะจง แต่นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดเดาได้จากซอโรพอดที่มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง อาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 8-12 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
[1] WIKIPEDIA. (July 26, 2024). Discovery and species. Retrieved from en.wikipedia
[2] The Dinosaur Database. (2025). Quick facts about Shunosaurus. Retrieved from dinosaurpictures
[3] Jurassic Park Institute Wiki. (2025). Classification. Retrieved from jurassic-park-institute
[4] DINOPEDIA. (2025). In popular culture. Retrieved from dinopedia.fandom