การค้นพบ สเตโกซอรัส มีจุดเริ่มต้นการขุดเจอฟอสซิลตั้งแต่เมื่อไหร่ เป็นคำถามที่หลายท่านอาจสงสัย เกี่ยวกับเจ้าไดโนเสาร์กินพืชจากยุคตูราสสิก ประมาณ 155-150 ล้านปีก่อนการค้นพบซากโครงกระดูกของไดโนเสาร์ชนิดนี้ นำไปสู่สงครามกระดูกไดโนเสาร์ (Bone Wars) รายละเอียดการค้นพบ มีข้อมูลดังนี้
การค้นพบ สเตโกซอรัส (Stegosaurus) หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่ได้รับการบรรยายไว้ในสงครามกระดูก หรือเรียกว่า การเร่งรุดล่าไดโนเสาร์ครั้งยิ่งใหญ่บรรยายครั้งแรกโดย อาร์เธอร์ เลคส์ ประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนหางหลายชิ้น แผ่นผิวหนัง และชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะอีกหลายๆ ชิ้น
สำหรับซากฟอสซิลตัวอย่างข้างต้น ถูกพบทางตอนเหนือของมอร์ริสัน รัฐโคโลราโด โดยกระดูกที่แตกหักหลายๆ ชิ้นนี้ ได้นำไปเป็นตัวต้นแบบของ Stegosaurus armatus เมื่อนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเยล โอทนีเอล ชาร์ลส์ มาร์ช ได้บรรยายถึงกระดูกเหล่านี้ในปี 1877 ตอนแรกเขาคิดว่านี่เป็นกระดูกของเต่า
และการค้นพบฟอสซิลที่ยิ่งใหญ่มากที่สุด เกิดขึ้นในปี 1885 เป็นการพบเจอโครงกระดูกของสัตว์ที่โตเต็มวัย และมีสภาพที่เกือบสมบูรณ์แบบมากที่สุด ซึ่งรวมไปถึงองค์ประกอบที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน เช่น กะโหลกศีรษะ กระดูกคอ และแผ่นข้อต่อ ฟอสซิลเหล่านี้ถูกพบจากชั้นหินมอร์ริสัน ในเหมืองหิน Garden Park [1]
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ตัวนี้
ที่มา: Quick facts about Stegosaurus [2]
ไดโนเสาร์กินพืช สเตโกซอรัส มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไดโนเสาร์ แองคิโลซอรัส พวกมันมีเกราะผิวหนังเหมือนกัน และยังมีลักษณะอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น แถวฟันโค้งเล็กๆ และทั้งสองสายพันธุ์นี้วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์หุ้มเกราะขนาดเล็ก เช่น สคิวเทลโลซอรัสและเซลิโดซอรัส ในยุคจูราสสิกตอนต้น
สเตโกซอรัสอาจจะไม่มีเกราะข้างลำตัว ไม่เหมือนกับไดโนเสาร์บรรพบุรุษ และเกราะของพวกมันมีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยบางชนิดมีแผ่นขนานกัน แทนที่จะสลับกัน และบางชนิดมีแผ่นตามแนวครึ่งหน้าของหลัง มีหนามตามแนวครึ่งหลังและหาง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับแผ่นหลัง
เนื่องจากโครงสร้างดังกล่าว ไม่ได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับไดโนเสาร์ชนิดนี้ทุกตัว เพื่อรวบรวมหรือปล่อยความร้อน ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นที่น่าสงสัยอีกว่า สเตโกซอรัสและไดโนเสาร์ชนิดอื่น จึงไม่มีโครงสร้างเทอรร์โมเรกูเลเตอร์ที่ซับซ้อน ซึ่งการจำแนกสายพันธุ์ อาจเกิดจากการแบ่งแยกชนิดแผ่นหลัง [3]
สำหรับไดโนเสาร์สเตโกซอรัส เป็นหนึ่งในสายพันธุ์สัตว์กินพืช ที่เคลื่อนที่ด้วยการเดิน 4 ขา ลักษณะเด่นคือของพวกมัน ก็คือเกราะกระดูกขนาดใหญ่ แผ่นกระดูกบนหลังของมัน มีการค้นพบซากฟอสซิลแทบจะทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา และออสเตรเลีย ปัจจุบันมีการค้นพบชนิดของพวกมันกว่า 14 สายพันธุ์
สำหรับไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกับสเตโกซอรัส ที่มนุษย์รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ ฮัวหยางโกซอรัส การศึกษาครั้งล่าสุดที่ผ่านมาไม่นาน สำนักสำรวจและพัฒนาทรัพยากรธรณีวิทยา และแร่ฉงชิ่งในจีนและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติลอนดอนในอังกฤษ ได้มีการขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ในเมืองฉงชิ่ง
Bashanosaurus primitivus ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่นี้ มีลักษณะดั้งเดิมหลายๆ อย่าง ที่มีความคล้ายกับสเตโกซอรัส มีการพบกระดูกด้านหลัง ไหล่ ต้นขา ซี่โครง เท้า และเกราะหลายแผ่น ซึ่งมีอายุนับตั้งแต่ยุคบาโจเชียน ที่อยู่ในระหว่างยุคจูราสสิกตอนกลาง หมายความว่าพวกมันอยู่บนโลกเมื่อ 168 ล้านปีก่อน [4]
ไดโนเสาร์มีเกราะ สเตโกซอรัส ที่ดำรงชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิก ประมาณ 155-150 ล้านปีก่อน จากข้อมูลข้างต้น ที่ทางผู้เขียนนำเสนอรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิล ไปจนถึงการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ สำหรับข้อมูลในส่วนถัดไป เราจะพาไปดูรูปลักษณ์ และวิธีการพบเจอไดโนเสาร์กินพืชตัวนี้
ที่มา: Popular Culture [5]
โดยรวมแล้ว จากการค้นพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวนี้ ไม่เพียงเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะไดโนเสาร์เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยสร้างความเข้าใจ ในการวิวัฒนาการ และช่วยเพิ่มความเข้าใจในความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในยุคโบราณ อีกทั้งการค้นพบซากฟอสซิล ส่งผลไปถึงการสร้างบทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยม
นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อกันว่า แผ่นหลังเหล่านี้ ถูกใช้เพื่อดึงดูดคู่ผสมพันธุ์ คล้ายกับขอบหยักของไทรเซอราทอปส์ และบางท่านเชื่อกันว่า แผ่นหลังเหล่านี้ มีไว้สำหรับปกป้องการโจมตีของสัตว์นักล่า หรือดึงดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์ เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่นนั่นเอง
นักบรรพชีวินวิทยาในยุคแรก เชื่อกันว่าพวกมันมีสมองอีกชิ้นอยู่ที่หาง เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญสังเกตเห็นโพรงสมอง เช่นเดียวกับโพรงสมองที่บริเวณก้น แท้จริงแล้วมันไม่เป็นความจริง เพราะช่องว่างดังกล่าวมีเนื้อเยื่อจำนวนมาก ที่ช่วยสร้างพลังงาน หรืออาจเป็นเพียงต่อมที่เต็มไปด้วยของเหลว
[1] WIKIPEDIA. (January 7, 2025). History and naming. Retrieved from en.wikipedia
[2] The Dinosaur Database. (2025). Quick facts about Stegosaurus. Retrieved from dinosaurpictures
[3] Britannica. (December 17, 2024). Stegosaurus. Retrieved from britannica
[4] ไทยรัฐออนไลน์. (March 8, 2022). ค้นพบซากฟอสซิล อาจเป็นสเตโกซอรัส. Retrieved from thairath
[5] DINOPEDIA. (2025). Popular Culture. Retrieved from dinopedia.fandom