การค้นพบ โดรเมโอซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อ จากตระกูลเทอโรพอด ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ประมาณ 80-69 ล้านปีก่อน มีการค้นพบฟอสซิลครั้งแรกในรัฐแอลเบอร์ตา แคนาดา และทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาสำหรับรายละเอียดการค้นพบฟอสซิล มีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจดังนี้
การค้นพบ โดรเมโอซอรัส (Dromaeosaurus) ฟอสซิลชิ้นแรกที่มีการค้นพบ ถูกพบโดยนักบรรพชีวินวิทยา บาร์นัม บราวน์ ในระหว่างการสำรวจแม่น้ำเรดเดียร์ เมื่อปี 1914 ในนามของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน พื้นที่ที่รวบรวมกระดูกเหล่านี้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Dinosaur Provincial Park
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะบางส่วน นิ้ว ขากรรไกรล่าง กระดูกฝ่ามือ กระดูกเท้าบางส่วน กะโหลกศีรษะไม่มีส่วนบนของจมูก มีชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะอื่นๆ อีกหลายชิ้น และฟันแยกประมาณ 30 ซี่ ซึ่งพบจากการขุดในเวลาต่อมา บริเวณรัฐแอลเบอร์ตาและมอนแทนา
ในปี 1922 วิลเลียม ดิลเลอร์ แมทธิว และบราวน์ พวกเขาได้ทำการตั้งชื่อสายพันธุ์ไดโนเสาร์ชนิดนี้ขึ้นมาว่า Dromaeosaurus albertensis โดยมาจากภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า “กิ้งก่านักวิ่ง” และยังมีการค้นพบตัวอย่างอีก 7 สายพันธุ์ เห็นได้ชัดว่าพวกมันมีถิ่นที่อยู่อาศัย ที่หายากกว่าเทอโรพอดขนาดเล็กชนิดอื่น [1]
ข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากมีการขุดพบฟอสซิล
ไดโนเสาร์โดรเมโอซอรัส พวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก-กลาง จากยุคครีเทเชียสตอนปลาย แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับโครงสร้างกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีความแตกต่างไปจากไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ ขากรรไกรลึก พร้อมด้วยฟันที่แหลมคม แสดงให้เห็นว่ามันกินอาหารได้มากกว่าการเฉือนเนื้อ และอาจมีแรงกัดมหาศาล
นักวิจัยเผยข้อมูลว่า แรงกัดของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีมากเกือบสามเท่าของ เวโลซิแรปเตอร์ ซึ่งบ่งชี้ว่ามันอาจพึ่งพาขากรรไกรมากกว่าในการกรงเล็บ ส่วนนิสัยการกินอาหาร จากการศึกษาพฤติกรรมการกิน พบว่ามันจะใช้วิธีการเจาะและดึง นั่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของเทอโรพอดในสกุลซีลูโรซอเรียน (coelurosaurian)
จากการวิเคราะห์อาหารของ Dromaeosaurus และยังรวมถึงการรวมกระดูกในอาหารของพวกมัน เน้นย้ำถึงความสามารถในการปรับตัว และประสิทธิภาพในการล่า ความแข็งแกร่งของขากรรไกร และวิธีการกินของมัน แสดงให้เห็นถึงเส้นทางการวิวัฒนาการ ที่มีความแตกต่างจากมานิแรปโตรันชนิดอื่นๆ
ในช่วงเวลาของยุคครีเทเชียส ปัจจุบันคือรัฐมอนแทนา ทางฝั่งตะวันออก ในช่วงเวลานั้นคือช่วงที่สิ่งมีชีวิตต้องแข่งขันเอาชีวิตรอด โดยมีไดโนเสาร์สายพันธุ์ Dromaeosaurus และไดโนเสาร์ชนิดอื่น ที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะ และมีบทบาทเฉพาะตัวในระบบนิเวศอันซับซ้อน
ท่ามกลางภูมิประเทศที่มีความหลากหลาย ซึ่งเต็มไปด้วยตะกอนแม่น้ำและทะเลสาบ พวกมันมีถิ่นที่อยู่อาศัยร่วมกับ ทีเร็กซ์ ไดโนเสาร์นักล่าแสนดุร้ายและน่าเกรงขาม แม้ว่าทีเร็กซ์จะมีขนาดใหญ่กว่า แต่โดรเมโอซอรัสมีความคล่องแคล่ว และมีความเจ้าเล่ห์มากกว่า พวกมันอาจกินซากสัตว์ที่ทีเร็กซ์เหลือทิ้งไว้
ช่วงยุคครีเทเชียส ไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ไทรเซอราทอปส์ พวกมันก็ออกหาอาหารในช่วงเวลาเดียวกันกับโดรเมโอซอรัส การปรากฏตัวของสัตว์กินพืชขนาดใหญ่เหล่านี้ จึงเป็นแหล่งอาหารชั้นเยี่ยม ถึงแม้จะมีอาวุธสำหรับปกป้องตัว แต่ความฉลาดของเจ้ากิ้งก่านักวิ่ง อาจมีกลยุทธ์ในการล่า [2]
หลังจากที่คุณได้อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติการค้นพบฟอสซิล รวมถึงบุคคลที่ค้นพบคนแรกในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ทางผู้เขียนยังได้นำเสนอข้อมูลนิสัยและอาหารการกิน ในส่วนถัดไป ทางเราจะพาไปดูข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะกายวิภาค และช่องทางการพบเห็นพวกมันตามสื่อสมัยนิยม มีข้อมูลดังต่อไปนี้
ที่มา: In popular culture [3]
โดยรวมแล้ว การค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ได้เข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์นักล่า จากตระกูล Dromaeosauridae และการเชื่อมโยงไปถึงสัตว์ในยุคปัจจุบัน เช่น นก
สำหรับไดโนเสาร์นักล่าชนิดนี้ พวกมันมีพฤติกรรมการเดินสองขา อีกทั้งยังมีหางที่ยาว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่วิ่งเร็ว จากข้อมูลที่นักบรรพชีวินวิทยา ได้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับสรีรวิทยาของเทอโรพอด และสัตว์ในตระกูล Dromaeosauridae บ่งบอกว่าพวกมันอาศัยความเร็วในการล่าเหยื่อ
ไดโนเสาร์ที่มีขนาดเทียบเท่ากับสุนัขตัวใหญ่ แต่มีความดุร้ายเทียบเท่ากับไดโนเสาร์นักล่า ไทรันโนซอรัสเร็กซ์ พวกมันมีความฉลาดและความอดทนสูง จึงมีการล่าเหยื่อเป็นฝูง และความฉลาดของพวกมัน ทำให้การล่าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ เป็นเรื่องที่ง่าย แต่ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยล้า
[1] WIKIPEDIA. (December 30, 2024). Discovery and naming. Retrieved from en.wikipedia
[2] THE DINOSAURS. (May 23, 2024). Contemporary Dinosaurs. Retrieved from thedinosaurs
[3] DINOPEDIA. (2025). In popular culture. Retrieved from dinopedia.fandom