การค้นพบ ไนเจอร์ซอรัส มีจุดเริ่มต้นการค้นพบฟอสซิลตั้งแต่เมื่อใด นั่นเป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย เกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างแปลกประหลาด ที่อาศัยอยู่ในยุคครีทเชเชียส มันเป็นอีกหนึ่งสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่กินพืชเป็นอาหาร มีรูปลักษณ์เฉพาะ ข้อมูลเพิ่มเติมการค้นพบฟอสซิล มีรายละเอียดเนื้อหาในส่วนถัดไป
การค้นพบไนเจอร์ซอรัส ไดโนเสาร์สายพันธุ์ซอโรพอดขขนาดใหญ่ พวกมันมีรูปร่างที่แปลกประหลาด ที่ดำรงชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส นักบรรพชีวินวิทยาคาดเดาว่า พวกมันสามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก มีการขุดพบซากฟอสซิลในบริเวณหินเอลราซ ทางตอนเหนือของแอฟริกา ในประเทศไนเจอร์ และเป็นที่มีของชื่อ
ไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้รับการอธิบายโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวฝรั่งเศส ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และได้รับการแนะนำให้ผู้คนทั้งโลกได้รู้จัก ในการตีพิมพ์เอกสารปี 1976 อย่างไรก็ตาม เซเรโนได้รับเกียรติให้ตั้งชื่อ หลังจากที่ได้ทำการศึกษาซากฟอสซิล และเผยแพร่ให้โลกได้รับทราบ พร้อมทั้งอธิบายลักษณะของพวกมัน
ในปี 1999 เซเรโนและทีมงานของเขา ได้ทำการสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับไดโนเสาร์ Nigersaurus เป็นเทอโรพอดประเภท Rebbachisaurid ซึ่งหมายความว่ามันอยู่ในตระกูลเดียวกับ Rebbachisaurus ที่ค้นพบในอเมริกาใต้ อย่างไรก็ตาม ไดโนเสาร์เครือญาติที่มีความใกล้ชิดพวกมัน ได้แก่ Demandasaurus และ Tataouinea [1]
ข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากค้นพบฟอสซิล
ซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกอธิบายครั้งแรกโดย Taquet ในปี 1976 เป็นไดโนเสาร์กลุ่ม Dicraeosaurid แต่ในปี 1999 เซเรโนและเพื่อนร่วมงาน ได้จัดหมวดหมู่ใหม่ ให้มันอยู่ในกลุ่ม Rebbachisaurid diplodocoid นักวิจัยคาดเดาได้เนื่องจากลักษณะคอที่สั้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของไดโนเสาร์กลุ่มนี้
Rebbachisauridae เป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่ใกล้สุดในกลุ่มย่อย Diplodocoidea สำหรับไดโนเสาร์ Nigersaurinae เป็นตระกูลย่อยที่มีชื่อเหมือนกันกับ Nigersaurus และตระกูลที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ได้รับการตั้งชื่อโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน จอห์น เอ วิทล็อค สำหรับรายชื่อไดโนเสาร์เครือญาติ มีตัวอย่างรายชื่อดังนี้
ตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์เครือญาติ
ที่มา: Classification [2]
สำหรับถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน ส่วนใหญ่พวกมันอยู่ในบริเวณที่ใกล้ทะเลสาบ หรือลำธาร พื้นที่ดังกล่าวเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตริมฝั่งแม่น้ำ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ และรายล้อมไปด้วยแหล่งอาหาร เขตริมฝั่งแม่น้ำจึงมีพืชพรรณที่อยู่ต่ำมาก ทำให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี แต่ปัจจุบันกลายเป็นทะเลทรายซาฮารา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงยุคครีเทเชียส ทะเลทรายซาฮารายังเป็นทะเลทรายที่เขียวชอุ่ม และเหมาะแก่การอยู่อาศัยเป็นอย่างมาก มีทั้งแม่น้ำ ทะเลสาบ พืชพรรณที่อยู่ต่ำ จึงเหมาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และยังเป็นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ชนิดอื่น จากการค้นพบฟอสซิล พบว่าพวกมันอาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ อะแพโทซอรัส
ในส่วนของพฤติกรรมของไดโนเสาร์ชนิดนี้ เชื่อกันว่าไนเจอร์ซอรัสมีพฤติกรรมคล้ายกับซอโรพอดชนิดอื่น พวกมันน่าจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในท่าห้อยหัว และกินพืชที่อยู่ต่ำ เนื่องจากพวกมันมีปัญหาในการยกหัวขึ้น ดังนั้น พวกมันจึงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่อยู่สูงได้ นักบรรพชีวินเชื่อว่ามันมีพฤติกรรมคล้ายกับวัว [3]
สำหรับไดโนเสาร์ชนิดนี้ ที่อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียส หลังจากที่ท่านได้ดูข้อมูลข้างต้น ที่ทางผู้เขียนได้แนะนำรายละเอียดที่เกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิล การจำแนกประเภท และถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน ในส่วนถัดไป ทางเราจะพาไปดูลักษณะกายวิภาคที่แปลกประหลาด รวมถึงความเกี่ยวกับในเชิงชีววิทยาโบราณ มีข้อมูลดังนี้
ลักษณะกายวิภาคไนเจอร์ซอรัส ที่ทำให้มันมีรูปร่างแปลกประหลาด
นักบรรพชีวินวิทยา เซเรโนและเพื่อร่วมงานของเขา เชื่อว่าพวกมันเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายชนิด พืชที่ขึ้นตามพื้นดินในระดับต่ำ ความกว้างของปากและการวางแนวด้านข้างของฟัน แสดงให้เห็นว่าซอโรพอดสามารถรวบรวมอาหารได้มาก และตัดอาหารให้ใกล้พื้นดิน ภายในระยะหนึ่งเมตรจากพื้นผิว
นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากเหลี่ยมด้านริมฝีปาก ซึ่งคล้ายกับ Dicraeosaurus และ Diplodocus ซึ่งเป็นหลักฐานว่าอาหารหรือพื้นผิว ทำให้ฟันของพวกมันสึกกร่อนได้ง่าย ร่องรอยการสึกกร่อนของฟันต่อฟันในมุมต่ำที่ด้านใน แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของขากรรไกร ถูกจำกัดให้เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างแม่นยำ
ถึงแม้ว่ามันจะมีรูจมูกขนาดใหญ่ และจมูกที่อวบอิ่ม แต่สมองของพวกมันกลับมีบริเวณรับกลิ่น ที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงไม่มีประสาทรับกลิ่นขั้นสูง อัตราส่วนระหว่างสมองกับมวลร่างกาย ถือว่าปานกลางสำหรับสัตว์เลื้อยคลาน และน้อยกว่าออร์นิธิสเวียน สมองประกอบไปด้วยปริมาตร 30% เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ชนิดอื่น [4]
โดยรวมแล้ว จากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ที่ถูกพบในทะเลทรายซาฮารา ประเทศไนเจอร์ เป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยให้เข้าในเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ของไดโนเสาร์กินพืช และแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มซอโรพอดในยุคครีเทเชียส โดยเฉพาะการปรับตัวของปากและฟัน
สำหรับกะโหลกศีรษะที่บอบบาง ปากที่กว้างมาก ซึ่งมีฟันเรียงรายอยู่เต็มช่องปาก ซึ่งเหมาะเป็นพิเศษสำหรับกินพืชที่อยู่ใกล้กับพื้นดิน ไดโนเสาร์คอยาวที่แปลกประหลาดนี้ มีลักษณะเด่นคือปากที่กว้างผิดปกติ และมีขอบตรงปลายปาก ซึ่งทดแทนพื้นที่ด้วยฟันจำนวนมากกว่า 500 ซี่
สำหรับเทคนิคการป้องกันตัวของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พวกมันมีสถิติการโจมตีเฉลี่ยและหางที่ยาว ซึ่งใช้สำหรับการป้องกันตัวเองจากนักล่า มันมีความคล่องตัวและความสามารถในการซ่อนตัวน้อย เนื่องจากประสาทการโจมตีของมันมีขนาดใหญ่
[1] ThoughtCo. (January 28, 2020). About Nigersaurus. Retrieved from thoughtco
[2] WIKIPEDIA. (October 14, 2024). Classification. Retrieved from en.wikipedia
[3] Science 4 Fun. (2024-2025). Habitat. Retrieved from science4fun
[4] DINOPEDIA. (2025). Paleobiology. Retrieved from dinopedia.fandom