ขนาด ไททันโนซอรัส รูปลักษณ์ภายนอก หรือองค์ประกอบร่างกายของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ที่บ่งบอกว่ามันเป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ มนุษย์ได้มีการค้นพบซากฟอสซิลจำนวนมาก พวกมันเป็นที่รู้จักในกลุ่มซอโรพอด นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า มันดำรงชีวิตด้วยการเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก ก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์
ขนาด ไททันโนซอรัส (Titanosaurus) หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ไททาโนซอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มซอโรพอดขนาดใหญ่สายพันธุ์สุดท้าย มันเดินเตร่ไปทั่วโลกก่อนที่จะสูญพันธุ์ เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน สิ่งที่ทำให้มันแปลกประหลาดไปจากไดโนเสาร์ตัวอื่น หลังจากที่มนุษย์ได้มีการค้นพบซากฟอสซิลเป็นจำนวนมาก
ถึงแม้ว่ารูปลักษณ์ของมันจะมีขนาดใหญ่ แต่ขนาดนี้มีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น อาร์เจนติโนซอรัส จะมีความยาวระหว่าง 98-115ฟุต และมีน้ำหนักประมาณ 66-85 ตัน ในส่วนของไจอาโรซอรัส จะมีความยาวเพียง 20 ฟุต และมีน้ำหนักโดยรวมของร่างกายเพียง 1,650-2,200 ปอนด์
ซึ่งรูปร่างของไดโนเสาร์ไททันโนซอรัส จะมีจุดเด่นอยู่ที่คอมีลักษณะยาว หางยาวคล้ายแส้ แม้ว่าหางของมันจะไม่เหมือนกับซอโรพอดชนิดอื่น พวกมันเดินด้วยท่าทางกางขาที่เป็นเอกลักษณ์ จนทำให้รอยเท้าของมันแตกต่างจากซอโรพอดตัวอื่นๆ อีกทั้งยังมีกระดูกสันหลังที่แข็งแรง ช่วยเพิ่มความคล่องแคล่วในการเดิน [1]
ด้วยลักษณะคอที่ยาวและร่างกายขนาดใหญ่ พวกมันจึงเป็นสัตว์กินพืช กินใบไม้ กิ่งไม้ และเปลือกไม้ของต้นไม้สูง อย่างไรก็ตาม ฟอสซิลมูลจากยุคครีเทเชียสตอนปลาย ที่มีการค้นพบในประเทศอินเดีย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่พวกมันกินมากยิ่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์พบซากฟอสซิลหลากหลายชนิด
นอกจากนี้ มูลของมันยังพบเศษหญ้าและต้นปาล์ม จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปได้ว่า ไททันโนซอรัสอาจกินอาหารที่หลากหลาย ในการปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อประมาณ 140 ล้านปีก่อน ในช่วงต้นยุคครีเทเชียส โดยเฉพาะยุคเบอร์เรียเซียน พวกมันอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ มีการพบฟอสซิลในทุกทวีป
ฟอสซิลที่ถูกพบในบราซิล นิวซีแลนด์ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และทะเลทรายโกบี แม้จะมีการกล่าวว่าพบฟอสซิลทั่วโลก แต่แท้จริงแล้ว ฟอสซิลส่วนใหญ่มาจากซีกโลกใต้ ในช่วงยุคครีเทเชียส ทวีปทางตอนใต้ประกอบไปด้วยมหาทวีปกอนด์วานา สภาพแวดล้อมในช่วงนั้นเต็มไปด้วยพืชพรรณ และพืชดอก
ประวัติ ไททันโนซอรัส “กิ้งก่าไททานิค” ตัวแรกปรากฏอยู่ที่ประเทศอินเดีย ได้รับการตั้งชื่อและอธิบายอย่างถูกต้องครั้งแรก ในปี 1877 ชนิดต้นแบบได้รับการตั้งชื่อ T. indicus ต่อมาฟอสซิลชนิดที่สอง T. blanfordi ได้รับการตั้งชื่อในปี 1879 โทั้งสองชนิดได้รับการตั้งชื่อโดยนักธรรมชาติวิทยา ริชาร์ด ไลเดกเกอร์
กระดูกสันหลังโฮโลไทป์ของไททันโนซอรัส สายพันธุ์อินดิคัส ถูกค้นพบระหว่างการออกสำรวจในเมืองจาบาลปุระ ในปี 1828 โดยกัปตันวิลเลียม เฮนรี สลีแมน ซึ่งเขาได้ค้นพบฟอสซิลโดยบังเอิญ ในระหว่างที่เขากำลังเดินทางสำรวจ ก็ได้สะดุดเข้ากับกระดูกสันหลังบนเนินเขาบาราซิมลา ซึ่งใกล้กับโรงงานรถม้า
ในปี 1862 โทมัส โอลด์แมน เขาได้ทำการศึกษาฟอสซิลกระดูกดังกล่าว และได้ย้ายไปยังกัลกัตตา จากนั้นก็ได้เพิ่มในคอลเลกชันของพิพิธภัณฑ์อินเดีย ฮิวจ์ ฟัลโคเนอร์ เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกระดูกเหล่านี้ และได้ข้อสรุปว่ามันเป็นของสัตว์เลื้อยคลาน ต่อมา ริชาร์ด ไลเดกเกอร์ ได้สรุปว่านี่เป็นของสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์ใหม่ [2]
ที่มา: Quick facts about Titanosaurus [3]
หนึ่งในสายพันธุ์ซอโรพอด ที่มีความหลากหลายและเจริญเติบโตได้ในระบบนิเวศ ในยุคครีเทเชียส เมื่อไม่นานมานี้ ทีมนักวิจัยหลายสถาบัน นำโดยสถาบันบรรพชีวินวิทยาคาตาลัน มิเกล ครูซอฟอนต์ ได้อธิบายสายพันธุ์ใหม่ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ โดยตั้งชื่อว่า Abditosaurus kuehnei โดยมีอายุประมาณ 70.5 ล้านปีก่อน
พบฟอสซิลครั้งใหม่ในแหล่งขุดค้น Orcau-1 ทางตอนใต้ของเทือกเขาพิเรนีส นักวิจัยเผยว่า นี่เป็นซากฟอสซิลครึ่งท่อนของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ และถือว่าเป็นฟอสซิลที่สมบูรณ์มากที่สุด เท่าที่มีการค้นพบในยุโรป นอกจากนี้ มันยังเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบบนเกาะ Ibero-Armorican
ซากฟอสซิลนี้มีขนาดประมาณ 17.5 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 14,000 กิโลกรัม ขนาดร่างกายมหึมาของมัน เป็นข้อเท็จจริงที่น่าประหลาดใจมากที่สุด เพราะไททันโนซอรัสในยุคครีเทเชียส มีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็ก หรือกลาง เนื่องจากพวกมันมีวิวัฒนาการในสภาวะที่โดดเดี่ยว [4]
โดยรวมแล้ว ไททันโนซอรัสมีโครงสร้างทางร่างกาย ที่ออกแบบมาให้มีความเหมาะสมกับการเป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ ลำคอที่ยาว หางที่คล้ายกับแส้ และกระดูกที่มีโพรงอากาศ ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักได้ดี ส่วนขาของมันมีความแข็งแรงและมั่นคง เพื่อรองรับน้ำหนักอันมหาศาลของร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม
มันมีร่างกายมหึมา ขาที่ใหญ่ ทำให้มันไม่สามารถวิ่งได้เร็ว แต่มีความสามารถในการเดินอย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดขนาดใหญ่ สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็งสูงสุด ประมาณ 7-10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ไดโนเสาร์ที่มีขนาดร่างกายใหญ่ที่สุด ล้วนถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มซอโรพอด ซึ่งเรียกว่าไททันโนซอร์ พาทาโกไททัน มาโยรัม อาจมีความยาว 37.2 เมตร แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ทางคนเชื่อว่า นี่เป็นการประมาณค่าที่สูงเกินไป แต่อย่างไรก็ตาม อาร์เจนติโนซอรัสอาจมีความยาวระหว่าง 37-40 เมตร
[1] AZ ANIMALS. (May 27, 2024). Description and Size. Retrieved from a-z-animals
[2] WIKIPEDIA. (February 6, 2025). Discovery and naming. Retrieved from en.wikipedia
[3] The Dinosaur Database. (2025). Quick facts about Titanosaurus. Retrieved from dinosaurpictures
[4] ไทรัฐออนไลน์. (February 11, 2022). ไดโนเสาร์ไททันโนซอร์อายุ 70.5 ล้านปี. Retrieved from thairath