ประวัติฟอสซิล โคริโทซอรัส พวกมันเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่มีปากคล้ายจะงอยปากเป็ด ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีลักษณะทางกายวิภาคเฉพาะที่โดดเด่น มีการค้นพบฟอสซิลในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ย้อนกลับไปในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ประมาณ 77 ล้านปีก่อน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นพบ มีรายละเอียดดังนี้
ประวัติฟอสซิล โคริโทซอรัส ฟอสซิลตัวอย่างแรกได้มีการค้นพบในปี 1911 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน บาร์นัม บราวน์ พบในบริเวณเรดเดียร์ รัฐแอลเบอร์ตา และได้เก็บรักษาไว้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง นอกจากโครงกระดูกที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์ การค้นพบในครั้งนี้ ยังพบรอยประทับของสัตว์ใหญ่อีกด้วย
ชนิดของฟอสซิลที่ได้รับการอธิบาย ได้ตั้งชื่อไว้ว่า Corythosaurus casuarius ในปี 1914 ดังนั้น ฟอสซิลตัวอย่างนี้ถูกกำหนดให้เป็นโฮโลไทป์ในปี 1916 บาร์นัม บราวน์ ได้เผยแพร่คำอธิบายโดยละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งอ้างอิงจาก AMNH 5338 โดยชื่อสามัญมาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “”กิ้งก่าสวมหมวก
ก่อนหน้านี้ได้มีการบรรยายไว้ถึง 7 ชนิด ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน ปีเตอร์ ด็อดสัน ได้ศึกษาความแตกต่างระหว่างกะโหลกศีรษะและยอดของไดโนเสาร์ เขาพบว่าความแตกต่างในขนาดและรูปร่าง อาจเกี่ยวข้องกับเพศและอายุของสัตว์ชนิดนี้ ปัจจุบันมีเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับ [1]
ไดโนเสาร์กินพืชโคริโทซอรัส พวกมันเป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มฮาโดรซอริด ซึ่งมีไดโนเสาร์ปากเป็ดและอยู่ในอันดับออร์นิธิสเกีย (ไดโนเสาร์ที่มีสะโพกคล้ายนก) มียอดหงอนขนาดใหญ่รูปทรงครึ่งวงกลม ซึ่งแตกต่างจาก พาราซอโรโลฟัส
เมื่อพวกมันเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 30 ฟุต มีหางยาวและหนัก พวกมันอาจมีน้ำหนักประมาณ 5 ตัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ผิวหนังของมันมีตุ่มหินปกคลุม และมีตุ่มขนาดใหญ่-เล็กสลับกันบนผิวหนัง รวมไปถึงบริเวณหน้าท้อง จากการค้นพบฟอสซิล ทำให้รู้ว่าพวกมันเคลื่อนไหว 2 ขา
จุดเด่นของยอดหงอนเหนือศีรษะ ซึ่งมีท่อช่วยหายใจที่ทอดยาวจากจมูก ไปจนถึงด้านหลังของลำคอ ซึ่งเป็นหัวข้อถกเถียงกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เชื่อกันว่าพวกมันเป็นสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก และนักบรรพชีวินวิทยาบางท่านเสนอว่า ยอดแหลมนี้อาจทำหน้าที่เป็นท่อช่วยหายใจ หรือเป็นแหล่งกักเก็บอากาศ [2]
สำหรับพฤติกรรมการกินอาหาร และอาหารที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้ชื่นชอบ พวกมันจะใช้จะงอยปากที่แข็งแรง ในการตัดใบไม้ ผลไม้ และผัดใบเชียวชนิดอื่นๆ ฟันที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องบด ช่วยให้มันเคี้ยวอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้สามารถกลืนลงท้องได้ง่าย แถมยังชอบกินเฟิร์นและพืชยุคก่อน
โคริโทซอรัสอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน ในการกินอาหาร เพื่อให้เหมาะกับร่างกายขนาดใหญ่ของพวกมัน และเนื่องจากมันอาศัยอยู่เป็นกลุ่ม พวกมันจึงต้องช่วยกันหาอาหาร และเพิ่มความปลอดภัยจากนักล่า อาจมีการส่งเสียงผ่านยอดหงอน เพื่อเป็นการเตือนภัยระวังจากไดโนเสาร์นักล่า ที่จะเข้ามาโจมตี
โคริโทซอรัสเคยอาศัยอยู่ในบริเวณอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะในประเทศแคนาดา พวกมันชื่นชอบสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น มีป่าไม้เขียวชอุ่ม และแม่น้ำ สถานที่ที่พวกมันสามารถหาอาหารได้ง่าย และพวกมันมักจะเดินเป็นกลุ่ม ซึ่งช่วยปกป้องนักล่าอย่างเช่น ทีเร็กซ์ เพราะพื้นที่เหล่านี้คือพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์
นักวิจัยได้ทำการสร้างแบบจำลองสามมิติ เกี่ยวกับยอดหงอนของไดโนเสาร์ชนิดนี้ และค้นพบว่าโครงสร้างเหล่านี้ส่งเสียงดัง เมื่อถูกพัดพาไปกับกระแสลม เป็นข้อมูลที่ชัดเจนว่าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่นี้ ใช้ยอดหงอนเพื่อทำการส่งเสียงดัง ไปยังไดโนเสาร์สายพันธุ์เดียวกัน แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ยินเสียงเหล่านี้ก็ตาม
ที่มา: In popular culture [3]
โดยรวมแล้ว หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาค พฤติกรรมการดำรงชีวิต และความโดดเด่นของหงอนที่ยื่นออกมาเหนือศีรษะ และยังมีบทบาทสำคัญทางด้านวัฒนธรรมสมัยนิยม ซึ่งช่วยให้ผู้คนทั่วโลกได้เห็นไดโนเสาร์ชนิดนี้อย่างละเอียด
สำหรับพฤติกรรมการวิ่งของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พวกมันสามารถวิ่งได้เร็วประมาณ 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือเป็นความเร็วที่ดีสำหรับไดโนเสาร์กินพืชเป็นอาหาร มันใช้ขาหลังที่มีความแข็งแรง และโครงสร้างลำตัวที่มีความยืดหยุ่น ทำให้พวกมันสามารถวิ่งหรือเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว
สำหรับพันของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีการประมาณว่าพวกมัน อาจมีฟันมากกว่า 1,000 ซี่ภายในช่องปาก โดยฟันเหล่านี้จะเรียงกันเป็นชั้นๆ ซึ่งเรียกว่า ฟันแบตเตอรี่ (Dental Battery) มีหน้าที่ในการช่วยบดเคี้ยวพืชที่เป็นอาหารหลักของมัน
[1] WIKIPEDIA. (September 5, 2025). Discovery and species. Retrieved from en.wikipedia
[2] BKIDS. (2025). Corythosaurus. Retrieved from kids.britannica
[3] DINOPEDIA. (2025). In popular culture. Retrieved from dinopedia.fandom