ลักษณะกายวิภาค ทรูโอดอน ไดโนเสาร์นักล่า ที่ถูกจัดให้เป็นไดโนเสาร์ที่มีความฉลาด พวกมันอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ปัจจุบันมีการค้นพบฟอสซิลในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พวกมันเป็นนักล่าที่มีขนาดเล็กกว่าไดโนเสาร์ชนิดอื่น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปร่าง มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับ ลักษณะกายวิภาค ทรูโอดอน ลักษณะเด่นอยู่ที่ดวงตากลมโตขนาดใหญ่ ทำให้พวกมันสามารถหันมองไปข้างหน้าได้ดี การปรับตัวที่ไม่เหมือนไดโนเสาร์ชนิดอื่นนี้ อาจทำให้มันสามารถมองเห็นได้สองตา หรือมองเห็นได้ทับซ้อนกัน ซึ่งมีความคล้ายกับลักษณะการมองเห็นของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
อีกหนึ่งจุดเด่นรูปร่างของไดโนเสาร์ชนิดนี้ คือมันสมองขนาดใหญ่ และใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับไดโนเสาร์ชนิดอื่น สิ่งนี้ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาเสนอว่า พวกมันเป็นนักล่าที่ฉลาดมากที่สุด ในส่วนของร่างกายภายนอก พวกมันมีความยาวทั้งหมด 8 ฟุต เมื่อทำการวัดจากหัวจนถึงปลายหาง ลำตัวเพรียวบาง
Troodon มีกระดูกกลวง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้มันมีน้ำหนักเบา เมื่อมันทำการยืนตัวตรง อาจสูงได้ประมาณ 6 ฟุต ขาเรียวยาว แต่ละข้างมีนิ้วเท้าที่ประกอบไปด้วยกรงเล็บ 3 นิ้ว เช่นเดียวกับเทอโรพอดบางสายพันธุ์ เช่น เวโลซิแรปเตอร์ แถมยังมีกรงเล็บคล้ายเคียวเกี่ยวข้าวขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นอาวุธอยู่ตรงนิ้วที่สองของนิ้วเท้า [1]
สำหรับไดโนเสาร์นักล่าชนิดนี้ ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกอบอุ่น และระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง ส่งผลให้มีแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ราบชายฝั่ง ไปจนถึงป่าทึบ ด้วยขนาดร่างกายที่เล็กของมัน ประกอบไปด้วยความเร็วในการเคลื่อนไหว จึงมีการปรับตัวได้ดี
และเนื่องจากพวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารของมันจึงมักจะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก รวมถึงแมลงขนาดเล็ก ฟันที่มีความแหลมคมและมีรอยหยัก คาดว่าน่าจะมีประโยชน์ในการฉีกเนื้อของเหยื่อ อีกทั้งสมองขนาดใหญ่และประสาทสัมผัสเฉียบแหลม บ่งบอกว่ามันเป็นนักล่าที่ออกล่าเหยื่ออย่างมีกลยุทธ์ และมีประสิทธิภาพ
พฤติกรรมทางสังคม ยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในหมู่นักบรรพชีวินวิทยา มีหลักฐานบางอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า พวกมันอาจออกล่าเหยื่อเพียงลำพัง ในขณะที่การวิจัยอื่นๆ ได้เสนอว่า พวกมันอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ การปรับตัวและพฤติกรรมของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีผลต่อสิ่งแวดล้อมในยุคเดียวกัน [2]
ประวัติฟอสซิลทรูโอดอน เริ่มต้นขึ้นในปี 1856 ถูกพบโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน โจเซฟ เมลลิค ไลดี้ โดยตัวอย่างต้นแบบของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ก่อให้เกิดปัญหาในการจำแนกประเภท เนื่องจากสกุลทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการฟันเพียงซี่เดียว หลังจากมีการก่อตัวของแม่น้ำจูดิธ กลุ่มชั้นหินที่มีซากดึกดำบรรพ์
ในตอนแรก ฟอสซิลฟันที่ค้นพบ ถูกจัดประเภทให้อยู่ในกลุ่ม Lacertilian และต่อมาได้จัดให้อยู่ในประเภทไดโนเสาร์เมกาโลซอรัสชนิดใหม่ ในปี 1901 ฟรานซ์ โนคซา ฟอน เฟลซ ซิลวาส ได้ไว้ว่าพวกมันเคยเป็นแท็กซอนของไดโนเสาร์กินเนื้อในอดีต จนมาถึงในปี 1924 ได้มีการเสนอว่า พวกมันกินได้ทั้งพืชและสัตว์
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง Troodontid และฟันของไดโนเสาร์กินพืช ยังคงทำให้นักบรรพชีวินวิทยาหลายคนเชื่อว่า สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์กินพืชและเนื้อ การจำแนกให้เป็น Pachycephalosauridae ได้รับการติดตามมาเป็นเวลานานหลายปี จนสุดท้ายก็ได้มีการจัดกลุ่มตระกูลของมันได้ว่า Troodontidae [3]
ที่มา: In the Media [4]
โดยรวมแล้ว จากการค้นพบฟอสซิลของสัตว์นักล่าชนิดนี้ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับรูปร่างขนาดเล็ก ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ โครงสร้างสมองขนาดใหญ่ ทำให้มันเป็นนักล่าที่ล่าเหยื่ออย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งโครงสร้างของกรงเล็บที่นิ้วเท้าทั้งสองขา ทำให้มันมีอาวุธในการสังหารเหยื่อ
มีแนวโน้มที่สูงมาก ว่าไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดหลายสายพันธุ์ อาจเกิดการสูญพันธุ์ไป หลังจากการแทนที่ด้วยไดโนเสาร์เทอราโดนดอนต์สกุลอื่น ดังนั้น กลุ่มสัตว์หรือไดโนเสาร์ชนิดนี้ จึงสามารถอยู่รอดได้หลังจากการสูญพันธุ์ได้ของไดโนเสาร์ทรูโอดอน
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานการค้นพบ เกี่ยวกับต่อมพิษในร่างกายของไดโนเสาร์กลุ่ม Troodontid ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ยากมาก เกี่ยวกับการกัดและการปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งแตกต่างไปจากฟันของมังกรโคโมโด
[1] BKIDS. (2025). Physical Characteristics. Retrieved from kids.britannica
[2] THE DINOSAURS. (July 21, 2023). The Troodon in its Natural Habitat. Retrieved from thedinosaurs
[3] WIKIPEDIA. (February 15, 2025). History of discovery. Retrieved from en.wikipedia
[4] DINOPEDIA. (2025). In the Media. Retrieved from dinopedia.fandom