ออร์นิโทเลสเทส กินอะไร ในช่วงเวลาที่มันมีชีวิตบนโลกเมื่อหลายร้อยล้านปีที่ผ่านมา นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้กินเนื้อเป็นอาหาร ถึงแม้ว่ามันจะมีลักษณะทางกายวิภาคที่เล็ก แต่พวกมันมีฟันที่แข็งแรง กรงเล็บที่นิ้วมืออันทรงพลัง พร้อมกับหางเรียวยาว ที่ช่วยให้มันสามารถล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ออร์นิโทเลสเทส กินอะไร ในช่วงเวลาของยุคจูราสสิกตอนปลาย ประมาณ 154 ล้านปีก่อน ผลการศึกษาพบว่าพวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ ถึงแม้ว่าจะมีร่างกายขนาดเล็ก แต่นักบรรพชีวินวิทยา เฮนรี แฟร์ฟิลด์ ออสบอร์น เขาเป็นคนตั้งชื่อ และได้สังเกตเห็นฟันที่ใหญ่ มือที่แข็งแรง และหางที่ช่วยในการทรงตัวขณะวิ่ง
จึงมีข้อสรุปได้ว่า พวกมันสามารถปรับตัวได้ดี และบางครั้งอาจล่าสัตว์ปีก อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้มีการเผยข้อมูลในปี 1917 ไดโนเสาร์ชนิดนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสัตว์กินเนื้อ กลายเป็นสัตว์กินพืช และในเวลาเดียวกัน ชาร์ลส์ อาร์ ไนท์ ได้วาดภาพประกอบที่แสดงให้เห็น Ornitholestes ไล่ล่า Archaeopteryx
แนวความคิดเกี่ยวกับเทอโรพอดขนาดเล็ก ที่เกี่ยวกับแนวคิดที่เชื่อว่าพวกมันกลายเป็นสัตว์กินพืชนั้นหายไป และปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่า พวกมันอาจออกล่าไดโนเสาร์ขนาดเล็ก เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จิ้งจก และไดโนเสาร์ที่เพิ่งฟักออกจากไข่ ขากรรไกรที่แข็งแรงของมัน อาจช่วยให้มันล่าสัตว์ขนาดใหญ่ได้ [1]
ตัวอย่างประเภทไดโนเสาร์ที่ตกเป็นเหยื่อ
พฤติกรรมของไดโนเสาร์ตัวนี้ คาดว่าพวกมันน่าจะเป็นนักวิ่ง นักกระโดด ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง และป่าไม้ที่เต็มไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่ มันจะใช้วิธีจับเหยื่อด้วยมือและกรงเล็บอันทรงพลัง มือของไดโนเสาร์ชนิดนี้สามารถในการยืดเข้าหากัน ใช้สำหรับจับหรือคว้าอาหาร ซึ่งแตกต่างจากเทอโรพอดยุคก่อนๆ
เนื่องจากฟอสซิลของมันค่อนข้างหายาก และมักพบแค่ในชั้นหินมอร์ริสันเท่านั้น ซึ่งระบบทางธรณีวิทยา บ่งบอกว่าพวกมันไม่ได้อยู่รวมกันเป็นฝูง เพราะตามทฤษฎีแล้ว พวกมันอาจใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว และมักหาอาหารเพียงลำพัง ในส่วนของการเลี้ยงดูแลลูก พวกมันจะดูแลจนกว่าลูกของมันหาอาหารเองได้
อีกหนึ่งพฤติกรรมในช่วงที่พวกมันมีชีวิต ถึงแม้ว่ามันเป็นนักล่าที่มีความคล่องแคล่ว ว่องไวในการล่าก็ตาม แต่บางครั้งมันอาจจะต้องกินซากสัตว์ที่ตายหากมีโอกาส เนื่องจากในช่วงเวลาในยุคจูราสสิก มีการแข่งขันการล่าอาหารสูง พวกมันจึงต้องหลีกเลี่ยงการปะทะกับไดโนเสาร์นักล่า ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าพวกมัน
ออร์นิโทเลสเทสมาจากชั้นหินมอร์ริสัน ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่มีชื่อเสียง พวกมันไม่ใช่สายพันธุ์เดียวกันกับสัตว์ปีก ระบบนิเวศในช่วงเวลานี้ มีชื่อเสียงในด้านของกลุ่มไดโนเสาร์ซอโรพอด ได้แก่ สเตโกซอรัส และ อัลโลซอรัส เป็นภาพจำของไดโนเสาร์ยุคจูราสสิก ที่มีสภาพแวดล้อมเป็นที่ราบขนาดใหญ่
และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลานั้น ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำ ซึ่งจะแห้งเหือดตามฤดูกาล และเกิดน้ำท่วมในภายหลัง ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นโคลน นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบเกลือขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Lake T'oo'dishi และภูเขาไฟที่ปกคลุมที่ราบด้วยเถ้าถ่าน และพืชพรรณอีกหลากหลายชนิด เช่น เฟิร์น ต้นแปะก๊วย
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะระบุสัตว์ทั้งหมด ที่มาจากชั้นหินมอร์ริสัน และสัตว์หลายชนิดอาจไม่อยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ชนิดนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง หน่วยย่อยของชั้นหินนี้ ไม่ได้ถูกวาดแผนผังไว้อย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ไดโนเสาร์ชนิดนี้ คาดว่าจะมีอายุเก่าแก่มากที่สุด เท่าที่มีการขุดพบฟอสซิลในชั้นหินมอร์ริสัน
สำหรับประวัติการค้นพบฟอสซิลออร์นิโทเลสเทส (Ornitholestes) เทอโรพอดชนิดแรกที่ถูกค้นพบในช่วงปี 1900 ในเหมืองหิน Bone Cabin ในรัฐไวโอมิง โดยคณะสำรวจของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอเมริกัน นำทีมโดย ปีเตอร์ ซี ไคเซน และทีมคณะสำรวจ ได้พบกระดูกสันหลัง ขาหน้า กระดูกเชิงกราน และขาหลัง
ในปี 1903 เฮนรี แฟร์ฟิลด์ ออสบอร์น ได้ตั้งชื่อฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ว่า Ornitholestes โดยมาจากภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า “นกผู้ขโมย” การค้นพบฟอสซิลมือที่ไม่สมบูรณ์ ได้รับการกำหนดให้เป็นสกุลเดียว อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า การเก็บรักษาองค์ประกอบที่สอดคล้องกัน เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้น
และในปี 2005 เคนเนธ คาร์เพนเตอร์ ได้บรรยายถึงเทอโรพอดขนาดเล็กชนิดนี้ และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า Tanycolagreus ซึ่งโครงกระดูกของมัน พบในเหมืองหิน Bone Cabin ฟอสซิลที่พบมีรูปแบบที่เหมือนตัวอย่างต้นแบบทุกอย่าง แต่ในยุคปัจจุบัน ฟอสซิลทั้งสองนี้ ไม่ใช่ไดโนเสาร์กลุ่ม Ornitholestes [2]
ข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากค้นพบฟอสซิล
ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กชนิดนี้ มีโครงสร้างทางร่างกายที่เบา ซึ่งพบฟอสซิลจากยุคจูราสสิกตอนปลาย ประมาณ 146-161 ล้านปีก่อน ในอเมริกาเหนือ พวกมันเป็นที่รู้จักจากโครงกระดูก ที่มีสภาพที่เกือบสมบูรณ์แบบ ซึ่งถูกพบในรัฐไวโอมิง โดยมีความยาวประมาณ 2 เมตร มีกะโหลกศีรษะ คอ และหางที่ยาวของมัน
คอมีลักษณะยืดหยุ่นมาก ขาหน้าพัฒนามาอย่างดี และมีกรงเล็บยาวทั้งหมด 3 นิ้ว ซึ่งบ่งบอกว่าพวกมันสามารถจับเหยื่อที่ว่องไว และจับเหยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชื่อของมันที่แปลว่านกหัวขโมย แต่มีแนวโน้มว่ามันอาจเป็นนักล่ากิ้งก่าตัวเล็ก และยังล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรกๆ [3]
ที่มา: In Popluar Culture [4]
จากการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ จนทำให้นักบรรพชีวินวิทยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม และอาหารที่พวกมันกิน หลายท่านเชื่อว่า พวกมันอาจเป็นนักล่าผู้ฉวยโอกาส ที่มีความยืดหยุ่นในการหาอาหาร และในบางครั้ง บางสถานการณ์อาจทำให้มันต้องกินซากสัตว์เพื่ออยู่รอด
อาหารส่วนใหญ่ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะเป็นสัตว์ขนาดเล็กกว่าตัวมันเอง เช่น กิ้งก่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ไข่และลูกไดโนเสาร์ ซึ่งพวกมันอาจมีส่วนช่วยควบคุมจำนวนประชากร โดยใช้วิธีการบุกเข้าไปในรัง และกินลูกของไดโนเสาร์ชนิดอื่น
สำหรับความเร็วในการวิ่งของไดโนเสาร์ชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า พวกมันสามารถวิ่งได้เร็วประมาณ 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้ขาหลังที่ยาวและแข็งแรง ร่วมกับหางที่ช่วยในการทรงตัว ทำให้มันมีความว่องไวเพียงพอ ในการวิ่งไล่ล่าเหยื่อขนาดเล็ก หรือใช้หลบหนีจากนักล่าขนาดใหญ่กว่า
[1] DINOPIT. (April 4, 2022). What did Ornitholestes Eat?. Retrieved from dinopit
[2] WIKIPEDIA. (October 13, 2024). Discovery and naming. Retrieved from en.wikipedia
[3] Britannica. (2025). Ornitholestes. Retrieved from britannica
[4] DINOPEDIA. (2025). In Popluar Culture. Retrieved from dinopedia.fandom